วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

โครงสร้างWEBแนวตั้ง


-โครงสร้างแนวตั้ง





2.ขนาดหน้าเว็บ







3.การจัดวางตำแหน่งโลโก้/เนื้อหา




(1)ส่วนหัว








- โปรแกรม Log IN




- หน้าแรก, เว็บบอร์ด,ดาวน์โหลด,เว็บเพื่อนบ้าน,สมาชิก




(2)ส่วนเนื้อหา




-รูปภาพ,วีดีโอ




- ตัวอักษร




(3)ส่วนท้าย




-กฎการใช้บอร์ด




- แจ้งปัญหา




-ห้องโชว์ผลงาน




-ห้องนอกเรื่อง




(4)ตำแหน่งของเมนู


-ส่วนเชื่อมโยงอยู่บนสุดด้านขวา




(5)ลักษณะของเมนู


-ตัวอักษร


-ภาพนิ่ง


-ภาพเคลื่อนไหว


-Roll - Over




(6)การแบ่งหมวดหมู่


-ห้องรวม


-ห้องพูดคุยเรื่องซิมส์


-ห้องเทคนิคการเล่น


-ห้องประกาศข่าว


-ห้องโชว์ผลงาน


-ห้องละครซิมส์


-ห้องกิจกรรม


-ห้องนอกเรื่อง


-แจ้งปัญหา


-กฎการใช้บอร์ด



วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553

องค์ประกอบของการออกแบบ

สีเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญในการออกแบบ สีมีอิทธิพลในเรื่องของอารมณ์การสื่อความหมาย
ที่เด่นชัด และกระตุ้นต่อการรับรู้ของคนเราได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้เรื่องของสียังเป็นเรื่องสำคัญใน
การออกแบบ เพื่อความสวยงาม สื่อความหมาย งานบางชิ้นที่ออกแบบมาดี แต่ถ้าใช้สีไม่เป็น อาจทำให้
งานทั้งหมดที่ทำมาพังได้ง่าย ๆ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องรู้จักสี และเลือกใช้สีให้เป็น


ก่อนอื่นเรามารู้จักองค์ประกอบของสีกันก่อน
องค์ประกอบของสีในงานออกแบบนั้น มีคุณสมบัติอยู่ 3 ประการคือ
1. สี,เนี้อสี (Hue)
2. น้ำหนักสี (Value / Brightness)
3. ความสดของสี (Intensity / Saturation)


สี, เนื้อสี


เนื้อสี หรือ Hue คือความแตกต่างของสีบริสุทธิ์แต่ละสี ซึ่งเราจะเรียกเป็นชื่อสี เช่น สีแดง
สีน้ำตาล สีม่วง เป็นต้น โดยแบ่งเนื้อสีออกเป็น 2 ชนิด




ระบบสี RGB


RGB ย่อมาจาก red, green และ blue คือ กระบวนการผสมสีจากแม่สี 3 สี คือสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน การใช้สัดส่วนของสี 3 สีนี้ต่างกัน จะทำให้เกิดสีต่างๆ ได้อีกมากมาย


ระบบสี RGB เป็นระบบสีที่เกิดจากการรวมกันของแสงสีแดง เขียว และน้ำเงินโดยมีการรวมกันแบบ Additive ซึ่งโดยปกติจะนำไปใช้ในจอภาพแบบ CRT (Cathode ray tube) ในการใช้งานระบบสี RGB ยังมีการสร้างมาตรฐานที่แตกต่างกันออกไปที่นิยมใช้งานได้แต่ RGBCIE และ RGBNTSC

การผสมสี

จริง ๆแล้วสีต่าง ๆ ที่เรามองเห็นเกิดจากการผสมสีใน 2 รูปแบบ คือ

การผสมสีแบบบวก (Additive Color Mixing)

เป็นการผสมสีของ "แสง" ซึ่งอาจเข้าใจยากสักหน่อย เพราะแตกต่าง จากความคุ้นเคยที่เราเคยรู้
กันมา แสงสีขาวที่เห็นทั่วไปนั่นประกอบดวยแสงที่มีความยาวคลื่น ต่าง ๆ กันซ้อนทับรวมตัวกันเกิด
เป็นสีสันต่าง ๆ จึงเรียกว่า "สีแบบบวก" โดยมีแม่สีพื้นฐานคือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน (Red
Green and Blue) เมื่อสามสีนี้ผสมกันจะได้สีขาว (สังเกต ว่าจะต่างจากที่เคยเรียนมาตอนเด็ก ๆ
ที่มีแม่สีคือ สีแดง เหลือง น้ำเงิน ผสมกันได้สีดำ) หลักการนี้นำไปใช้กับการมองเห็นสีที่เกิดจาก
การผสมกันของแสง เช่น จอมอนิเตอร์ จอโทรทัศน์ ที่เรียกว่า RGB Mode

การผสมสีแบบลบ (Subtractive Color Mixing)

เป็นสีที่เกิดจากการดูดกลืนแสงสะท้อนจากวัตถุ คือเมื่อมีลำแสงสีขาวตกกระทบวัตถุสีต่าง ๆคลื่นแสง
บางส่วนจะถูกดูดกลืนไว้ และสะท้อนเพียงบางสีออกมา จึงเป็นที่มาของชื่อ "สีแบบลบ" มีแม่สีคือ
สีฟ้าแกมเขีว (Cyan) สีม่วงแดง (Magenta) และสีเหลือง (Yellow) เมื่อสามสีผสมกันจะเป็นสีดำ
เพราะแสงถูกดูดกลืนไว้หมด ไม่สีแสงสะท้อนมาเข้าตา จึงไม่เกิดสีอะ ตาจึงเห็นเป็นสึดำ หลักการนี้
ได้นำไปใช้กับการผสมสี เพื่อใช้ในการพิมพ์ โดยใช้แม่สี แต่เพิ่มสีดำขึ้นมาอีกสีหนึ่งผสมกันเป็นโทน
ต่าง ๆ ด้วยใช้เม็ดสกรีน ทำให้ได้ภาพสีสันสมจริง ดังนั้น หากต้องทำงานเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ ต้องเตรียม
ภาพด้วยระบบสีนี้ ในโปรแกรมเรียกว่า CMYK Mode

วงจรสี Colour Wheel

วงจรสีก็คือ การวางเนื้อสี เรียงกันตามการผสมสีของสารที่เรามองเห็นโดยตัวอย่างของแบบ
จำลองวงจรสีี่จะหยิบยกมาศึกษากันนี้ เป็นแบบ 12 สี มาตราฐานที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ลองมาดู
ภาพประกอบความเข้าใจกันสักเล็กน้อย

1. แรกเริ่มเดมที่เรามี 3 สีเป็นต้นกำเนิด คือแม่สี
หรือ สีปฐมภูมิ Primary Colours


2. สีที่ได้จากการผสมแม่สีทั้ง 3 เข้าด้วยกัน เรียกว่า สึขั้นที่ 2
หรือ สีทุติยภูมิ Secondary Colours


3. สีที่ได้จากการผสมแม่สี และสีขั้นที่ 2 ออกมากลายเป็นสีขั้นที่ 3
หรือ สีตติยภูติ Tertiary Colours